หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งทางน้ำด้วยเรือขนาดใหญ่ด้วยตู้คอนเทนเนอร์มือสองถือเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย คุ้มค่าเพราะขนส่งได้คราวละมากๆ และประหยัดต้นทุนได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับการขนส่งประเทศอื่น ซึ่งในปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์มือสองยังถูกนำมาดัดแปลงให้เป็นสถานที่ ร้านค้า บ้านพัก ร้านอาหาร สำนักงานสำเร็จรูป ออฟฟิศ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ก่อนจะเลือกซื้อตู้คอนเทนเนอร์มือสองเพื่อไปทำธุรกิจใดๆ ก็แล้วแต่ คุณควรทำความรู้จักกับตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเลือกใช้ได้ถูกประเภทและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด
ตู้คอนเทนเนอร์คืออะไร? ตู้คอนเทนเนอร์ (Container Box) คือ ตู้ขนาดใหญ่ที่ผลิตด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม เพื่อใช้บรรจุสินค้าสำหรับการขนส่งทางเรือที่ต้องใช้ระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วัน ดังนั้นภายนอกของตู้คอนเทนเนอร์นั้นจะต้องมีความแข็งแรง มี Slot เพื่อใช้ยึดตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้ให้ติดกัน มีสีสันหลากหลายและหลายขนาดตามความต้องการใช้งาน คุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์ที่ดีมีอะไรบ้าง? ตู้คอนเทนเนอร์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะทางทะเลที่กินระยะเวลาหลายวันดังนั้นตู้คอนเทนเนอร์ที่แม้จะเป็นมือสองก็ควรมีคุณภาพได้มาตรฐาน ดังนี้ • ตู้อคอนเทนเนอร์จะต้องมีขนาดมาตรฐาน ภายนอกทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีลักษณะเป็นลอนคลื่นเพื่อความสะดวกในการนำมายึดต่อกัน • ตู้คอนเทนเนอร์ที่ดีต้องมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักที่สามารถซ้อนกันได้อย่างน้อย 10 ชั้น • ตู้คอนเทนเนอร์ส่วนใหญ่จะมีประตู 2 บาน พร้อมที่ล็อคตู้ด้วยการคล้อง Seal ซึ่งอาจทำด้วยตะกั่วหรือพลาสติก ในปัจจุบันยังมีการล็อคแบบ Electronic Seal ที่สามารถหาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าระหว่างขนส่งได้ด้วย • ภายในของตู้คอนเทนเนอร์นั้นจะต้องเป็นที่โล่งกว้างเพื่อวางสินค้า
ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ การขนส่งสินค้าแต่ละประเภทนั้นจำเป็นต้องเลือกตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม ก่อนจะเลือกซื้อตู้คอนเทนเนอร์สักตู้นั้น คุณควรทำความรู้จักประเภทและเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย ดังนี้
1) ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box หรือ Dry Cargoes เป็นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใส่สินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ แต่ละขนาดนั้นก็เหมาะกับการสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น ขนาด 20 ฟุต เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาตรและน้ำหนักไม่มาก เช่น อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เสื้อผ้า เป็นต้น ส่วนขนาด 40 ฟุต/40 ฟุตไฮคิว/45 ฟุตไฮคิว เหมาะสำหรับสินค้าปริมาตรเยอะแต่น้ำหนักไม่มากเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น สินค้าที่ขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box นั้นต้องมีการทำที่กั้นเพื่อป้องกันสินค้าเคลื่อนที่จนเกิดความเสียหายระหว่างขนส่งดังนั้นอาจใช้ถุงกระดาษเป่าลม ( Balloon Bags) วางอัดบริเวณที่มีช่องว่างหรือใช้ไม้มากั้นที่เรียกกันว่า Wooden Partition หรือหากใช้เชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing
2) ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Reefer หรือ Refrigerator Cargoes เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็น สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ ระหว่าง +25 ถึง – 25 องศาเซลเซียส แต่หากเป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภท Super Freezer อาจปรับอุณหภูมิได้มากถึง -60 องศาเซลเซียส เลยก็ได้ โดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจจะติดอยู่กับตัวตู้มีปลั๊กเสียบจากนอกตู้ โดยจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบ Reefer นั้นเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการการรักษาอุณหภูมิที่คงที่ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม ช็อคโกแลต ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์บางประเภท สารเคมีในห้องทดลอง
3) ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top (เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่มีความสูงเกินกว่า 2.7 เมตร ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านประตูตู้ได้ต้องอาศัยการเคลื่อนลงจากด้านบนแทน ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top ส่วนใหญ่จะมีขนาด 40 ฟุต สินค้าที่ขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top ได้แก่ เครื่องจักร ท่อ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ หรือ ยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ
4) ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีขนาดกว้างและยาว ตามมาตรฐานตู้คอนเทนเนอร์ มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ มีทั้งขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต สำหรับสินค้าที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack ได้แก่ เครื่องจักร , แท่งหิน , ประติมากรรม , รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ , ท่อชนิดต่างๆ เป็นต้น
Comments